Garmin ช่วยผู้ป่วยฮีโมฟีเลียสร้างช่วงเวลาแอคทีฟ
โครงการ Better HemoLife ภายใต้การดูแลของทันตแพทย์มณฑล สุวรรณนุรักษ์ ประธานชมรมผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลียแห่งประเทศไทย ได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจาก Garmin Smartwatch เข้ากับวงการการแพทย์ครั้งแรกในประเทศไทย มุ่งหมายที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียหรือผู้ป่วยโรคเลือดออกง่าย ผ่านการใช้ Garmin Health Feature จนสามารถทำให้ผู้เข้าร่วมในโครงการมีทัศนคติเชิงบวกกับการออกกำลังกาย ลดปริมาณการใช้ยา และกลายเป็น role model สำหรับผู้ป่วยอื่นๆ ที่ยังไม่หันมาออกกำลังกาย
“ผู้ป่วยฮีโมฟีเลียโดยธรรมชาติจะมีความกังวลใจกับการออกกำลังกายด้วยข้อจำกัดทางร่างกาย กลัวว่าจะมีปัญหาเลือดออกตามมาโดยเฉพาะที่ข้อ และกล้ามเนื้อ เพราะฉะนั้นผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการนี้ จะต้องได้รับการประเมินเบื้องต้นและใส่การ์มินสมาร์ทวอทช์ ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อที่ทีมแพทย์และคณะทำงาน จะสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง และนำข้อมูลมาใช้เพื่อวัดผล เช่น นำข้อมูลด้านการก้าว มาเป็นการตั้งเป้าหมายการเดินของผู้ป่วยแต่ละวัน และนำข้อมูลเรื่องการเผาผลาญแคลอรีมาใช้ในการดูแลเรื่องการกินอาหาร รวมทั้งการติดตามค่า VO2Max ในการออกกำลังกาย และคาดการณ์ไปในอนาคตว่า เขาจะแข็งแรงขึ้น มีความฟิตขึ้นขนาดไหน เพื่อตั้งเป้าหมายที่ท้าทายขึ้นให้เขาได้มีพัฒนาการในการออกกำลังกายต่อไป” นายแพทย์มณฑล กล่าว
ผู้ปกครองของผู้ป่วย ให้ความเห็นว่า “ก่อนหน้านี้ เราจะไม่กล้าให้เขาออกกำลังกาย เพราะว่ากลัวเขาจะมีเลือดออก แต่พอได้เข้าร่วมโครงการ และใส่ Garmin Smartwatch เพื่อติดตามสุขภาพ รู้สึกว่าสุขภาพของลูกโอเคขึ้น และเมื่อเห็นข้อมูลที่ชัดเจนของน้องว่าไปในทางที่ดีขึ้น เราก็เปลี่ยนวิธีรักษาน้องจากการใช้ยาอย่างเดียว เราก็มีการออกกำลังกายมาเสริมด้วย หันมาดูแลสุขภาพเชิงรุก ออกกำลังกาย เลือกทานอาหาร วิถีชีวิตก็เปลี่ยนไปเลย พอสุขภาพน้องแข็งแรงขึ้น สุขภาพจิตก็ดีตามไปด้วย น้องมั่นใจมากขึ้น ที่จะก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเอง ขนาดลูกเราที่เขาป่วย ก็ยังสามารถพัฒนาสุขภาพให้ดีขึ้นได้”
การร่วมมือกันครั้งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเฮลท์เทคฯ เข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการสาธารณะสุขมากขึ้น ทั้งการวินิจฉัย รักษาผู้ป่วย และการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน การ์มินตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยผลักดันให้ผู้คนหันมาดูแลสุขภาพในเชิงรุกผ่าน การพัฒนาเทคโนโลยีของการ์มินอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันสมาร์ทวอทช์มีความสามารถหลากหลาย เช่น ความสามารถในการใช้เซ็นเซอร์ติดตามสถานะสุขภาพได้แบบ 24 ชั่วโมง ตั้งแต่การนอน ระดับออกซิเจนในเลือด การติดตามระดับความเครียด ระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกาย (Intensity Minutes) การติดตามสุขภาพของผู้หญิง ทั้งการติดตามรอบเดือน และการติดตามการตั้งครรภ์ อัตราการเต้นของหัวใจ ระดับพลังงานร่างกาย (Body Battery) การดื่มน้ำ และอัตราการหายใจ ที่ผสานกันเข้ากับพลังแบตเตอรี่ที่อยู่ได้ยาวนาน จึงทำให้ Garmin สมาร์ทวอทช์สามารถส่งมอบข้อมูลสุขภาพที่ต่อเนื่องและเชื่อถือได้
ที่สำคัญความก้าวหน้าในการพัฒนาของเทคโนโลยีและฟีเจอร์บน Garmin สมาร์ทวอทช์จะค่อยๆ ทำให้พฤติกรรมผู้คนเปลี่ยนไป ไม่เพียงแต่ในเคสของผู้ป่วยเท่านั้น คนทั่วไปก็เช่นกัน จะสามารถดูข้อมูลสุขภาพได้จากนาฬิกาบนข้อมือ โดยที่ไม่ต้องไปตรวจถึงโรงพยาบาล ทำให้คนหันมาสนใจดูแลสุขภาพเชิงรุกกันมากขึ้น