SpO2 รู้ไปเพื่ออะไร สำคัญแค่ไหนในยุคโควิด-19?
การระบาดของ COVID-19 ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก ผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกวัน แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของโควิด-19 ก็คือ คนส่วนใหญ่ไม่มีอาการ โดยผู้ป่วยประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์มีอาการไม่รุนแรงหรือไม่แสดงอาการ และมีผู้ที่อาการรุนแรงประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ดังนั้นมาตรการการตรวจคัดกรองหาผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้ได้อย่างรวดเร็วจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกเพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ หนึ่งในชุดตรวจโรคโควิด-19 ที่เป็นที่นิยม คือ ชุดตรวจแบบ Rapid Test Kits ซึ่งเป็นชุดตรวจอย่างง่าย รวดเร็ว เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น ก่อนเข้ากระบวนการตรวจอย่างเข้มข้นจากห้องปฎิบัติการ นั่นหมายความว่าผลลัพธ์อาจมีความคลาดเคลื่อน การเฝ้าระวังตนเองและครอบครัวด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสวมใส่ (Wearable Device) ที่สามารถวัดค่าและติดตามตัวแปรทางสุขภาพ เช่น ระดับออกซิเจนในเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ และติดตามการพักผ่อนที่เหมาะสม จึงเป็นอีกวิธีที่จะช่วยป้องกันตนเองจากการแพร่ระบาด และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้
เผยมุมมองผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์กับความสำคัญการรู้ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2) แบบเรียลไทม์
ทางด้าน นพ. สิระ กอไพศาล อายุรแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญโรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึมโรงพยาบาลรามาธิบดีเผยว่าการหมั่นมอนิเตอร์ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดอย่างต่อเนื่องนั้นมีค่ามากสำหรับการตรวจหาโรคโควิด-19 ที่เราเผชิญกันอยู่ สำหรับค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดที่ลดต่ำลง ในขณะที่ร่างกายยังไม่แสดงอาการ เราสามารถรู้ได้ผ่านสมาร์ทวอทช์ ซึ่งหากเรารู้เร็วรู้ไวรักษาทันโอกาสเสียชีวิตของคนไข้ก็จะน้อยลง เพราะจะสามารถร่นระยะเวลาการรักษาได้เร็วขึ้น
ใขณะที่ แพทย์ผู้ที่รักษาผู้ป่วยโควิด-19 มามากกว่า 50 คน นพ. แอนดรูว์ อัน จากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด ได้เล่าประสบการณ์ว่าผู้ป่วยมักจะมีเพียงอาการทั่วไป เช่น มีไข้ หายใจถี่ และไอ อย่างที่เรารับรู้ แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุด แต่ตัวผู้ป่วยเองไม่รู้ และไม่ได้รับการแจ้งเตือน คือ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดต่ำ อยู่ระหว่าง 70 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ บางคนอ้างถึงภาวะพร่องออกซิเจนเรื้อรังประเภทนี้ว่า Happy Hypoxia หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า Silent Hypoxia ซึ่งเป็นอาการที่บ่งบอกว่าไวรัสอาจส่งผลต่อการตอบสนองของระบบประสาทต่อออกซิเจน โดยที่สมองของเราไม่รู้ว่าเราอยู่ในภาวะพร่องออกซิเจน แม้ว่าปริมาณออกซิเจนในปอดจะไม่เพียงพอ เป็นผลให้ในช่วงเวลาที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ อาการรุนแรงกว่าที่คาดไว้มาก ซึ่งช่วงเวลาวิกฤตที่ต้องการการรักษาไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ทัน จากผลการศึกษาบางรายงาน ยังระบุด้วยว่า ผู้ป่วยที่มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ มีอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้นและการตอบสนองต่อการรักษาจะไม่ดีเท่าที่ควร
รู้ได้อย่างไรว่า SpO2 ไม่ปกติ?
ปกติค่าของระดับออกซิเจนในเลือดจะอยู่ที่ 95 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป แต่ถ้าระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ต่ำกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ร่างกายจะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จนเกิดภาวะพร่องออกซิเจน แต่ถ้าระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ต่ำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ อาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจและโรคปอดบวมได้ นอกจากจะช่วยเฝ้าระวังโรคโควิด-19 แล้ว การวัดระดับออกซิเจนในเลือดยังช่วยแพทย์วินิจฉัยผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ และปัญหาอื่นๆ เบื้องต้นได้
ในทางกลับกัน ผู้สูบบุหรี่เป็นเวลานานมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ซึ่งสาเหตุหลักมาจากสารเคมีในยาสูบที่สะสมในปอดและไม่สามารถขับออกได้ สิ่งนี้จะลดการทำงานของปอดทำให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินหายใจเรื้อรังและลดอายุขัยโดยเฉลี่ยของผู้สูบบุหรี่ลง 6-8 ปี จากการคาดคะเนขององค์การอนามัยโลกระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังประมาณ 3 ล้านคนทั่วโลกต่อปี อย่างไรก็ตามผู้สูบบุหรี่อาจไม่รู้ตัวเองว่าอาจจะเป็นโรคนี้ได้ แต่ด้วยการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของระดับออกซิเจนในเลือดจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้สูบบุหรี่ให้เข้าใจถึงอันตรายของผลข้างเคียงของโรคนี้
SpO2 มีบทบาทอย่างไรกับโควิด-19?
เมื่อพูดถึงโรคปอดบวม หลายคนอาจคิดว่าระดับความเข้มขันของออกซิเจนในเลือดสามารถใช้ระบุการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันยังไม่มีผลการวิจัยที่ยืนยันว่าระดับออกซิเจนในเลือดเป็นตัวบ่งชี้ที่ช่วยในการวินิจฉัย อย่างไรก็ตามผู้คนจำนวนมากจากวงการแพทย์เปิดเผยว่า การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดอาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นในการระบุผู้ป่วยที่เป็นไปได้ของการติดเชื้อไวรัสโควิด-19
นพ. ริชาร์ท เรวิตัน แพทย์โรงพยาบาล the Littleton Regional Healthcare จากรัฐนิวแฮมป์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ผู้ป่วยหลายรายมาโรงพยาบาลด้วยสภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาการดังกล่าวอาจถึงขั้นวิกฤต แต่ผู้ป่วยยังคงเล่นโทรศัพท์มือถือราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นและยังบอกอีกว่าเค้าแค่รู้สึกไม่สบายมาหนึ่งหรือสองวัน อย่างไรก็ตามสภาพของพวกเขากลับแย่ลงอย่างรวดเร็วซึ่งทำให้การรักษายากยิ่งขึ้น
รู้ระดับ SpO2 แล้วช่วยอะไรได้บ้าง?
ผู้ป่วยที่มีภาวะ Silent Hypoxia หรือ Happy Hypoxia สามารถที่จะแพร่เชื้อไวรัสได้ โดยที่อาการของผู้ป่วยไม่ได้แตกต่างจากคนปกติทั่วไป ส่งผลให้คนที่อยู่รอบตัวโดยเฉพาะครอบครัวและเพื่อนของผู้ป่วยติดเชื้อได้ง่ายขึ้น จากการละเลยในการระวังตัว เช่น การสวมหน้ากากอนามัย จึงส่งผลทำให้ไวรัสแพร่กระจายมากขึ้น ดังนั้น การตรวจจับระดับออกซิเจนในเลือดจึงมีบทบาทสำคัญในการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันตนเอง ถึงแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานที่บ่งชี้ระดับออกซิเจนในเลือดสำหรับการวินิจฉัย แต่ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนสำหรับเราได้ การซื้อเครื่องวัดออกซิเจนในท้องตลาดนั้นไม่ใช่เรื่องยากและราคาไม่แพงซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่หาซื้อได้ง่ายในราคาระหว่าง 800 – 1,500 บาท อย่างไรก็ตามปัญหาที่สำคัญที่สุดของอุปกรณ์ดังกล่าวคือใช้เวลาในการวัดเพียงทีละครั้งและไม่สามารถทำการวัดและติดตามอย่างต่อเนื่องได้
นพ. แอนดรูว์ อัน จากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด เปิดเผยว่า สาเหตุหลักของผู้ป่วยโควิด-19 จะไม่แสดงอาการที่ชัดเจนในตอนแรก แต่จะมีภาวะระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ สิ่งนี้สามารถตรวจพบได้ไวขึ้นจากอุปกรณ์สวมใส่ของ Garmin ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถตรวจจับระดับออกซิเจนในเลือดของคุณได้ตลอดทั้งวัน ซึ่งแต่งต่างจากอุปกรณ์ทั่วไป โดย Garmin สามารถตรวจจับระดับออกซิเจนที่แตกต่างกันในสถานที่ต่างๆ และสร้างข้อมูลอ้างอิงซึ่งทำให้คุณเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของระดับออกซิเจนในเลือดได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับระดับปกติ แทนที่จะบอกเป็นค่าสัมบูรณ์ แต่จะบอกเป็นแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของระดับออกซิเจนในเลือดที่ตรวจสอบได้ ซึ่งควรมีการสังเกตและบันทึกผลทุกวัน นอกจากวัดระดับออกซิเจนในเลือดแล้วนาฬิกา Garmin ยังสามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจของคุณตลอดทั้งวันเพื่อตรวจสอบคุณภาพการนอนหลับ ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ และเป็นตัวบ่งชี้ตัวแปรสุขภาพเพื่อช่วยเฝ้าระวังได้ จะเห็นว่า SpO2 จะเชื่อมโยงกับอาการผิดปกติของร่างกาย ยิ่งเมื่อเรายังต้องตกอยู่ในสถานการณ์เชื้อไวรัสระบาดในปัจจุบัน การหันมาให้ความสำคัญกับค่าความเป็นไปต่างๆ ของร่างกายยิ่งทวีความจำเป็นมากกว่าเก่า
มอนิเตอร์อย่างต่อเนื่องเพื่อปกป้องตัวเองและคนรอบข้าง
ด้วยการตรวจสอบระดับออกซิเจนในเลือดของคุณตลอดทั้งวัน คุณสามารถเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลสุขภาพ ช่วยให้คุณตื่นตัว และช่วยปกป้องไม่เพียงแค่ตัวคุณเอง แต่ยังช่วยปกป้องครอบครัวของคุณทางอ้อมด้วย ฉะนั้นการมีอุปกรณ์สวมใส่บนข้อมือจาก Garmin ที่สามารถมอนิเตอร์ความเปลี่ยนแปลงของสุขภาพ รวมถึงระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดได้แบบเรียลไทม์ แม้ขณะหลับจะทำให้คุณรู้เท่าทันสุขภาพมากขึ้น และลดการแพร่กระจายของเชื้อคิด-19 ได้อีกด้วย
นพ. สิระ กล่าวเสริมว่า นอกจากนี้ การติดตาม SpO2 แล้ว สมาร์ทวอทช์ของการ์มิน ยังสามารถช่วยในการวางแผนดูแลสุขภาพเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในระยะยาวได้เช่นกัน เพราะไม่มีใครที่สุขภาพดีแบบ 100% แม้จะอาศัยอุปกรณ์สมาร์ทวอทช์ช่วย แต่เมื่อมีตัวชี้วัดด้านสุขภาพบนข้อมือของเรา เราจะสามารถทราบได้ว่าสภาพร่างกายของเรานั้นกำลังพัฒนาไปในทิศทางที่ดีหรือไม่ และสมาร์ทวอทช์ของการ์มินนั้นจะติดตามค่าต่างๆ ต่อไปนี้ ค่าออกซิเจนในเลือด อัตราการหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ การติดตามคุณภาพการนอน ระดับความเครียด ซึ่งถือว่าค่อนข้างครบถ้วนสำหรับตัวชี้วัดด้านสุขภาพเบื้องต้น เพราะเมื่อเราใช้ชีวิตประจำวัน หรือออกกำลังกายต่อกันเป็นระยะเวลานาน และตัวชี้วัดด้านสุขภาพแสดงอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักช้าลง คุณภาพการนอนหลับดีขึ้นและระดับความเครียดลดลง เราสามารถคาดเดาได้ว่าวิถีชีวิตหรือแผนการออกกำลังกายดังกล่าวนั้นอยู่ในระดับที่เหมาะสม ในทางกลับกัน หากข้อมูลแสดงว่าแย่ลง ควรพิจารณาว่าการฝึกหรือการใช้ชีวิตประจำวันแบบนั้นทำร้ายสุขภาพเกินไปหรือไม่ หากเรารู้ว่าระบบใดของเราทำงานผิดปกติ เราก็สามารถวางแผนฟื้นฟูระบบนั้นผ่านวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมได้
หมายเหตุ – ข้อมูลความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดบนอุปกรณ์มีไว้เพื่อใช้อ้างอิงเท่านั้น และไม่ถือเป็นการวินิจฉัย ทั้งนี้ Garmin ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการทำกิจกรรมยามว่าง ไม่เหมาะสำหรับใช้ในการวินิจฉัย รักษา บรรเทาหรือป้องกันความเจ็บป่วยหรือโรคต่างๆ ผู้ใช้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหากมีอาการผิดปกติ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Garmin ที่มี SpO2 ได้ที่: https://discover.garmin.com/th-TH/event/2021/immunity/