ชาว Garmin นอนได้มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน
ข้อมูลจาก Garmin Connect ที่เก็บข้อมูลอายุของผู้ใช้ เพศ และความเครียดที่อาจเป็นสาเหตุทำให้มีผลต่อประสิทธิภาพของการนอน
คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรหากจะพูดว่า “การนอนเป็นสิ่งสำคัญ” เพราะสิ่งที่ทำให้สุขภาพร่างกายและจิตใจทำงานประสานกันได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งการอดหลับอดนอนเพียงคืนเดียว ไม่ว่าจะจากการลุยดูซีรีย์จนเช้าหรือจากสาเหตุอื่นอาจจะไม่มีผลอะไรมากมาย แต่การนอนไม่พอ และนอนไม่ได้คุณภาพติดต่อกันเป็นเวลานานย่อมเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) สุขภาพจิตแย่ลง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes) หรือแม้แต่อัตราเสี่ยงที่ทำให้อายุสั้นลง
แน่นอนว่าการนอนนั้นสำคัญ และหลายๆ คนก็ทราบดี แต่ Garmin ช่วยบาลานซ์เรื่องนี้ได้ยังไง อย่าลืมว่าสมาร์ทวอทช์จาก Garmin มีฟีเจอร์การติดตามการนอนหลับขั้นสูง[1] หรือ Advanced Sleep Monitoring Feature ที่ช่วยเก็บข้อมูลการนอนของคุณอย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็นคุณภาพการนอน รอบการตื่นระหว่างคืน ประเภทของการนอนแบบตื้น แบบลึก และแบบ REM[2] รวมถึงคะแนนการนอนที่ประเมิณแบบคืนต่อคืนโดยให้คะแนนจาก 0-100 คะแนน พร้อมบอกรายละเอียดว่าเพราะอะไรคุณถึงได้คะแนนเท่านั้นในแต่ละครั้ง
การติดตามข้อมูลการนอนแบบละเอียดได้มากขนาดนี้ย่อมช่วยเปลี่ยนสุขภาพของคุณจากหน้ามือเป็นหลังมือได้เลยทีเดียว โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการนอนแนะนำให้ผู้ใหญ่นอน 7-9 ชั่วโมงต่อคืน แต่จะมีกี่คนที่ทำตามคำแนะนำได้ทุกคืน จากการเก็บข้อมูลการนอนผู้ใช้ Garmin มีข้อมูลที่น่าสนใจ และน่าจะเป็นประโยชน์ดังต่อไปนี้
- ผู้ใช้สมาร์ทวอทช์ Garmin ส่วนใหญ่นอนเฉลี่ยคืนละ 7.5-8 ชั่วโมงต่อคืน
- ผู้สูงอายุมักจะอยู่ในสเตจของการหลับตื้น (Light Sleep) และตื่นระหว่างคืนบ่อยกว่ากลุ่มอื่นๆ
- ผู้หญิงต้องการเวลานอนที่มากกว่าผู้ชาย ซึ่งจากข้อมูลพบว่าผู้หญิงนอนเฉลี่ย 7 ชั่วโมง 50 นาที ในขณะที่ผู้ชายนอนเฉลี่ยอยู่ที่ 7 ชั่วโมง 29 นาที
- คนที่นอนมากกว่า 7 ชั่วโมงต่อคืนมีความเป็นไปได้มากว่าจะฟื้นฟูค่า Body Battery กลับมาสูงถึง 80 หรือมากกว่านั้น มากกว่าคนที่นอนน้อยกว่า
- ยิ่งนอนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยลดความเครียดได้มากเท่านั้น
แล้วชาว Garmin นอนมากแค่ไหนกัน
ถึงเวลาปรบมือให้ตัวเองแล้ว เพราะผู้ใช้งาน Garmin ส่วนใหญ่มีจำนวนชั่วโมงการนอนเฉลี่ยต่อคืนอยู่ที่ 7.5-8 ชั่วโมง ซึ่งเป็นตัวเลขเดียวกันกับที่ทางผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนแนะนำ ทางทีมงานจึงหวังว่าชาว Garmin ทุกคนจะตื่นมาพร้อมกับความสดชื่นในยามเช้า และพร้อมที่จะลุยต่อในแต่ละวัน (แต่ถ้าไม่เป็นแบบนั้น ไม่ต้องกังวลไปเพราะสมาร์ทวอทช์ Garmin ช่วยหาคำตอบให้คุณได้ว่าทำไมด้วยการใช้ข้อมูลจากอัตราการเต้นของหัวใจ ค่าความเครียดในแต่ละวัน และค่า Body Battery)
แล้วอายุที่มากขึ้นมีผลต่อการนอนหรือเปล่า?
ทราบกันดีว่า ‘อายุ’ ก็เป็นตัวแปรหนึ่งที่ช่วยบอกว่าเราต้องการชั่วโมงในการนอนมากน้อยแค่ไหนในแต่ละคืน เพราะถ้าผู้ใหญ่ต้องการเวลานอนเท่ากันกับเด็กแรกเกิดก็คงเป็นไปไม่ได้ ยิ่งอายุมากขึ้นตัวแปรที่ทำให้คุณภาพในการนอนเปลี่ยนไปก็มากขึ้น จากกราฟข้างต้นแสดงให้เห็นว่ายิ่งอายุมากขึ้น ชั่วโมงการนอนในช่วง REM ก็ยิ่งน้อยลง ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านความจำ และการเรียงลำดับข้อมูล และเพราะอายุที่เพิ่มขึ้นชั่วโมงที่ใช้ไปกับการหลับตื้นหรือ Light Sleep ก็ยิ่งมากขึ้น และมีโอกาสตื่นกลางดึกบ่อยกว่าปกติ ในขณะเดียวกันคนที่อายุน้อยกว่า 20 ปีมักจะมีช่วงตื่นกลางดึกเพียง 0-15 นาทีเท่านั้น
แล้วเพศมีผลต่อการนอนหรือไม่
รู้หรือไม่ว่าผู้หญิงต้องการเวลานอนมากกว่าผู้ชาย จากข้อมูลของ SleepFoundation.org ระบุว่าผู้หญิงมีโอกาสมีอาการนอนไม่หลับ ความเครียด ความกังวล หรืออาการซึมเศร้าที่มีผลมาจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงมีประจำเดือน ช่วงตั้งครรภ์ หรือช่วงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน (ซึ่งสมาร์ทวอทช์จาก Garmin ก็มีฟีเจอร์ในการเก็บข้อมูลการมีประจำเดือน และข้อมูลการตั้งครรภ์เช่นกัน) ซึ่งจากข้อมูลที่เราเก็บมาสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงใช้เวลานอนเฉลี่ย 7 ชั่วโมง 50 นาทีในขณะที่ผู้ชายนอนเฉลี่ยอยู่ที่ 7 ชั่วโมง 29 นาทีโดยแบ่งตามการนอนแต่ละช่วงได้ดังต่อไปนี้
- ผู้หญิงนอนเฉลี่ยอยู่ที่ 4 ชั่วโมง 52 นาทีในช่วงการหลับตื้น (Light Sleep) ในขณะที่ผู้ชายนอนเฉลี่ยอยู่ที่ 4 ชั่วโมง 35 นาทีเท่านั้น
- ผู้หญิงนอนเฉลี่ยอยู่ที่ 1 ชั่วโมง 11 นาทีในช่วงการหลับลึก (Deep Sleep) ในขณะที่ผู้ชายนอนเฉลี่ยอยู่ที่ 1 ชั่วโมง 7 นาทีเท่านั้น
- ผู้หญิงนอนเฉลี่ยอยู่ที่ 1 ชั่วโมง 32 นาที่ในช่วง REM ในขณะที่ผู้ชายนอนเฉลี่ยอยู่ที่ 1 ชั่วโมง 22 นาทีเท่านั้น
- ผู้หญิงมักจะตื่นมากลางดึก หรือหลับๆ ตื่นๆ เฉลี่ยอยู่ที่ 23.46 นาที ในขณะที่ผู้ชายมีมากกว่าถึง 24.44 นาที
ชั่วโมงการนอนมีผลต่อ Body Battery แค่ไหน
Garmin Body Battery เป็นฟีเจอร์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้คุณบริหารจัดการพลังงานในร่างกายในแต่ละวันได้ดียิ่งขึ้น สามารถเช็คความพร้อมของระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) ว่าอยู่ในโหมดสู้ หรือหนี (Fight or Flight) และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic Nervous System) ว่าอยู่ในสภาวะปกติหรือภาวะผ่อนคลาย (Rest or Digest) ซึ่งตัว Body Battery เองก็ช่วยคำนวณค่าความเครียด ระยะเวลาที่ร่างกายต้องการฟื้นฟูสภาพร่างกาย คุณภาพการนอน และกิจกรรมระหว่างวันเพื่อบอกคุณให้ได้ว่าพลังงานที่มีเหลืออยู่ ณ ขณะนั้นอยู่ที่เท่าไหร่
การนอนเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่ม Body Battery ให้กลับมาพร้อม 100% แต่ยิ่งเราใช้พลังงานในตอนเช้าไปมากเท่าไหร่ พลังงานที่เหลือในช่วงบ่ายก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น คุณจะยิ่งมองเห็นข้อแตกต่างระหว่าง Body Battery 90 และ Body Battery 60 ช่วงใกล้ๆ มื้อเย็น ยิ่งถ้าเริ่มต้นวันใหม่ด้วย Body Battery 90 ตอนนี้เหลืออยู่ที่ 40 คุณก็อาจจะพอมีเรี่ยวแรงในการเตรียมอาหารเย็น หรือใช้เวลากับครอบครัวอยู่บ้าง แต่ถ้าเริ่มต้นวันใหม่ด้วย Body Battery 60 และตอนนี้ก็เหลือแค่ 10 มื้อเย็นที่จบที่ Drive-Thru ก็มีสิทธิ์เป็นไปได้สูงกว่า
การนอนมีผลต่อความเครียดหรือไม่
เช่นเดียวกันกับ Body Battery และ Sleep Score ที่สมาร์ทวอทช์อย่าง Garmin จะช่วยให้คะแนนระดับความเครียดจาก 0-100 ระหว่างวันแบบเรียลไทม์ ซึ่งระดับความเครียดช่วยบอกความพร้อมของร่างกายโดยคำนวณจากอัตราการเต้นของหัวใจ และความผันแปรระหว่างจังหวะการเต้นของหัวใจแต่ละครั้งที่เก็บผ่านตัวเซนเซอร์ที่อยู่ด้านหลังนาฬิกา ถ้าระดับความเครียดอยู่ที่ 0-25 หมายความว่าร่างกายอยู่ในโหมดพักผ่อน ซึ่งหากเช็คที่นาฬิกาโหมดนั้นก็จะเป็นสีฟ้า ถ้าระดับความเครียดอยู่ที่ 26-50 (สีส้ม) หมายความว่ามีความเครียดน้อย 51-75 (สีส้มอ่อน) ระดับความเครียดปานกลาง และ 76-100 (สีส้มเข้ม) ระดับความเครียดสูง
จากข้อมูลของ Garmin ยิ่งเรานอนมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะอยู่ให้โหมดความเครียดระดับสูงก็ยิ่งมีน้อยลง ซึ่งหมายความว่าร่างกายจะพร้อมรับมือกับสถานการณ์ตึงเครียดได้ดีขึ้น และปล่อยว่างได้ง่ายขึ้น แต่ถ้านอนไม่พอก็อาจจะให้ผลตรงกันข้าม เพราะคุณจะอยู่กับความเครียดนานเกินความจำเป็น และในระยะยาวก็อาจส่งผลต่อสุขภาพจิต และสุขภาพโดยรวมของร่างกายอีกด้วย
เริ่มต้นจากตรงไหนดี
ถ้าคุณอ่านข้อมูลเหล่านี้จนครบถ้วนและเริ่มรู้สึกว่าตัวเองนอนไม่พอ และมีผลกระทบในด้านอื่นๆ ตามมาก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะยังมีเคล็ดลับที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับได้ดีกว่าการนับแกะให้คุณได้เอาไปลองใช้ อันดับแรกเริ่มจากการบันทึกผลการนอนในแต่ละคืน เช่น เข้านอนตอนกี่โมง และตื่นกี่โมง แต่หากคุณต้องการตัวช่วย สมาร์ทวอทช์จาก Garmin ก็พร้อมจะเป็นเพื่อนที่รู้ใจ คอยเก็บข้อมูลการนอนแบบละเอียดให้คุณได้เช่นกัน
และเมื่อคุณรู้เวลาการนอนที่ชัดเจน รวมถึงข้อมูลการนอนระหว่างคืน การพัฒนาให้การนอนดีขึ้นต่อไปก็ไม่ใช่เรื่องยาก และ Garmin เองก็มีคำแนะนำให้คุณทุกครั้งเมื่อใช้ Insight Feature[3] บน Garmin Connect คุณจะรู้ว่าตอนนี้คุณอยู่จุดไหน และควรทำอย่างไรให้ประสิทธิภาพการนอนดีขึ้น ยิ่งตั้งใจมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเห็นผลการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน และรวดเร็วยิ่งขึ้นเท่านั้น ตอนนี้คงถึงเวลาเข้านอนแล้ว Have A Garmin Dream!
[1] เมื่อเชื่มต่อสมาร์ทวอทช์เข้ากับโทรศัพท์ที่รองรับ
[2] อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://discover.garmin.com/th-TH/minisite/garmin-technology/health-science/#advanced-sleep-monitoring
[3] ใช้ได้กับผู้ใช้แอป Garmin Connect ที่ใช้ฟีเจอร์ Activity Tracking